โครงการจัดตั้งทีมโดรนอาสาเพื่อเก็บข้อมูลระยะยาว
สำหรับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

หลักการและเหตุผล
ปัญหาฝุ่นควัน และไฟป่าหลายปีที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ สร้างความสูญเสียต่อสังคมเศรษฐกิจเป็นวงกว้างอีกทั้งต้นตอของปัญหาก็เกิดจากหลายปัจจัย หลายสาเหตุอีกทั้งมีความซับซ้อนในเชิงการบริหารจัดการพื้นที่ แต่เราอาจจะสรุปสาเหตุของการเกิดฝุ่นควันได้ 2 ลักษณะคือ ไฟอันเกิดจากเผาป่า และไฟอันเกิดจากการเผาพื้นที่แปลงเกษตรเพื่อการทำกินของชาวบ้านในชุมชน ปีนี้มีข่าวที่สร้างความตกใจใหักับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงปัญหานี้ว่า ไฟได้ไหม้ป่ามากถึง 35 ล้านไร่ โดย 17 ล้านไร่เกิดจากไฟป่า และ 18 ล้านไร่เกิดจากการเผาแปลงเกษตร (ในขณะที่ปีก่อนๆ การรายงานพื้นที่ไฟป่าจะอยู่แค่เพียงระดับ 1-5 แสนไร่เท่านั้น) สาเหตุก็เพราะในปีที่ผ่านไม่มีการเก็บข้อมูลไฟป่านอกพื้นที่ ที่ไม่มีการเข้าไปปฏิบัติการนั้นเอง ด้วยข้อมูลที่คาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความเป็นจริงนี้เอง ที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถออกแบบ วางแผน ในการแก้ปัญหาได้ตรงจุด เพราะที่ผ่านมาแผนส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นไปที่การจัดการไฟในพื้นที่ภาคการเกษตรจนเกิดเป็นแนวคิด Zero burn(ห้ามเผา) ที่ไม่ได้พูดถึงต้นตอสาเหตุของปัญหา แต่ยังหลงลืมเรื่องการจัดการเชื้อเพลิงสะสมภายในป่า ซ้ำร้ายยังสร้างผลกระทบและข้อบาดหมางให้กับชาวบ้าน ชนเผ่า ผู้ทำการเกษตรในพื้นที่สูงตามวิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่น
เป้าหมาย
จัดตั้งทีมงานโดรนอาสาเพื่อเก็บข้อมูลระยะยาว สำหรับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ไฟป่า ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ และในพื้นที่นำร่องเขต อำเภอสะเมิงใต้ แล้วนำไปใช้กับชุมชนอื่นที่มีความพร้อม และต้องการนำโดรนเข้าไปใช้ในพื้นที่ของตนร่วมกันกับสภาลมหายใจเชียงใหม่

พื้นที่นำร่อง
- พื้นที่นำร่องทั้งตำบลสะเมิงใต้ 2 หมู่บ้าน (4คน)
- พื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา 1 หมู่บ้าน 2 คน
- พื้นที่อำเภอแม่วาง 1 หมู่บ้าน 2 คน
- พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
- พื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน

ข้อมูลใช้ระบบ SMART
- สมาร์ท คือการเก็บข้อมูล พัฒนามาจากยูกันดา ในการจัดเก็บข้อมูลในการอนุรักษ์แรดขาว
- SMART CONNECT คือการเอาข้อมูลต่างๆ มาเชื่อมโยงกัน เช่น เวลา พิกัด ไฟ สัตว์ ต้นไม้
- Air Patrol แอพพลิเคชั่น ความสามารถในการดีเทคชั่น แนวการบิน บอกพิกัด แล้วส่งข้อมูลขึ้นไปบนเซิฟเวอร์
- ยกตัวอย่างการเกิดไฟในประเทศเกาหลีใต้ แล้วใช้ระบบสมาร์ท จัดเก็บข้อมูล ความชันของพื้นที่ ทิศทางลม จุดกำเนิดไฟ ความแรงของไฟ แล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อการคาดการณ์ไฟในอนาคต ซึ่งเกิดจากปัจจัยในอดีต และยังช่วยป้องกัน หรือช่วยดับไฟได้ในอนาคต
- ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่นำร่อง จะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์กลาง ใช้งานด้วยการประมวลผลลงในโปรแกรมสมาร์ท ผ่านเว็ปไซด์ เปิดให้ใช้ในลักษณะ open data สามารถนำไปขยายผลในการ อ่านวิเคราะห์ข้อมูลล่วงหน้า เพื่อการวางแผนจัดการทรัพยากร และป้องกันไฟป่าในพื้นที่นำร่อง รวมถึงออกแบบวางแผนสำหรับการฟื้นฟูหลังการเกิดไฟป่า

รายชื่อคณะกรรมการ
- นาย เกีรยติศักดิ์ ผิวขาว
- นาย ประมาณ จรูญวาณิชย์
- นาย ฉัตรจักร ปินตา
- นาย ภราดล พรอำนวย
ที่ปรึกษา
- นาย กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์ (ARISTO Group)
- นาย สิทธิชัย จินะมอย (Thailand Forest UAS)
- นาย ศุธภที สีทองดี (Thailand Smart Patrol Program)

สถาที่ติดต่อ
ChiangMai Trust ชั้น 3 ร้าน North Gate jazz co-op 95/1-2 ศรีภูมิ ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 Tel. 081-020-7822 (เค)
E-mail: dpscheck@gmail.com
line: kcomick
รายงานความก้าวหน้า 14 ก.ค.63
- การใช้เครื่องมือโดรนในการสำรวจพื้นที่การเกิดไฟป่าในเขตอุทยาน
- การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานและชาวบ้านในพื้นที่นำร่อง สำรวจพิกัดตำแหน่งที่เกิดไฟป่า – การจัดการป้องกันและเฝ้าระวังไฟป่าร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และชาวบ้านในพื้นที่/ชุมชน
- การทำชุดข้อมูลสำหรับบริหารจัดการไฟ (การทำแผนที่ภูมิศาสตร์จุดเกิดไฟจากภาพถ่ายมุมสูง) แผนที่แสดงข้อมูลจุดเกิดไฟป่า(ชุมชน/อุทยาน) แนวกันไฟ และเส้นทางเดินเท้าในเขตพื้นที่ป่าชุมชน-พื้นที่อุทยาน

พื้นที่ดำเนินการ
นำร่องในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีล้านนา ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยาน และพื้นที่นำร่องชุมชนในเขตป่าอุทยานออบขาน ร่วมกับชาวบ้านชุมชนบ้านป่าทางใน
การทำงานที่ผ่านมาและผลที่เกิดขึ้น
- การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติศรีล้านนา
– ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานในการใช้โดรนแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควัน โดยใช้โดรนขนาดใหญ่ทำการสำรวจพิกัดตำแหน่งที่เกิดไฟป่า พร้อมกับสร้างร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่อุทยานร่วมดับไฟ/ทำแนวกันไฟ สามารถทำการบินโดรนสำรวจในพื้นที่อุทยานศรีลานนา พื้นที่ดอยสุเทพ ปุยได้เนื่องจากได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดให้บินสำรวจและถ่ายภาพมุมสูงได้ แต่พื้นที่อื่นยังไม่มีความชัดเจน - การทำงานร่วมกับชาวบ้านในชุมชนป่าทางใน เขตพื้นที่อุทยานออบขาน
– ทำงานร่วมกับชุมชน/ชาวบ้านชุมชนป่าทางใน มอบโดรน(ขนาดเล็ก)สำหรับนำไปใช้ในการสำรวจจุดที่เกิดไฟในพื้นที่เขตอุทยานออบขาน นำเสนอข้อมูลไฟป่าแถบน้ำขานแบบภาพมุมสูงจากโดรน
– ตั้งกลุ่มเยาวชนเรียนรู้การใช้โดรน โดยมีการตั้งกลุ่มไลน์โดรนอาสา นำผลจากภาพถ่ายมุมสูงส่งเข้ามาในกลุ่ม เพื่อลงรายละเอียดจุดที่เกิดไฟป่า และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน นอกจากนี้ยังมีการทำงานร่วมกับหมู่บ้านในพื้นที่ใกล้เคียงในการสำรวจจุดเกิดไฟและการทำแนวป้องกันไฟป่าของชุมชน
– ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงทำแนวกันไฟ
ปัญหา/อุปสรรค
- คนที่ทดลองบินโดรนใหม่ ๆ ขาดความชำนาญในการใช้โดรนทำให้มีปัญหาโดรนตก ต้องเปลี่ยนใบพัดใหม่
- ยังมีข้อจำกัดของกฎระเบียบราชการในการอนุญาตให้ใช้โดรนบินสำรวจในพื้นที่เขตอุทยาน ทำให้เป็นปัญหาต่อการบินสำรวจในพื้นที่ (มีข้อจำกัดในการบินโดรนได้เฉพาะในเขตพื้นที่ชุมชน แต่ไม่สามารถบินได้ในเขตอุทยานออบขานทั้งหมด เพราะยังมีปัญหากับเจ้าหน้าที่และกฎระเบียบในการบินโดรน)

แนวทางจัดการ
- ประสานงานกับมืออาชีพที่ทำโดรนประกอบจากกลุ่มนกเงือกและช้างป่าดึงเข้ามาร่วมในกลุ่มคณะทำงาน เพื่อให้ความรู้การทำโดรน DIY กับกลุ่มชาวบ้านและเยาวชนโดรนอาสา
- สร้างความเข้าใจร่วมกับป่าไม้ , อุทยาน , อปท. เรื่องเงื่อนไข กฎระเบียบการบินโดรน
- กรมการบิน
- มีการทำ MOU ข้อตกลงร่วมกับกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม – สำนักอนุรักษ 16 – สภาลมหายใจ – ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้สามารถใช้โดรนบินสำรวจในพื้นที่เพื่อการจัดการปัญหาไฟป่าหมอกควัน (ทำ MOU ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2563)
เอกสารโครงการเพิ่มเติม